โอลิโกไลท์ คือ อะไร

โอลิโกไลท์ คือ พรีไบโอติกไซรัป ที่มีส่วนประกอบของฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์สายสั้น (Short Chain Fructooligosaccharide ; sc-FOS) ซึ่งจัดเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble fiber) ที่พบได้ทั่วไปในพืชผักและผลไม้ อาทิเช่น กล้วย มะเขือเทศ กระเทียม หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง แก่นตะวัน หัวชิโครี่ และน้ำอ้อย เป็นต้น [1]

โอลิโกไลท์ ผลิตจากอ้อยธรรมชาติ อยู่ในรูปของเหลวใสสีเหลืองทอง รสชาติหวานอ่อน ๆ มีส่วนประกอบของฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ โอลิโกไลท์จึงเป็นไซรัปที่ให้พลังงานน้อยกว่าน้ำเชื่อมทั่วไปครึ่งหนึ่ง และช่วยปรับสมดุลการขับถ่าย ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมอาหารมีการนำฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์เติมลงในผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายชนิด ด้วยคุณสมบัติการเป็นของเหลว ละลายน้ำได้ดี และมีรสชาติหวานคล้ายน้ำตาล จึงถูกใช้เป็นสารให้ความหวานทดแทนน้ำเชื่อม หรือน้ำผึ้งที่มีเพียงความหวานแต่ไม่มีประโยชน์ด้านการเป็นพรีไบโอติกส์ที่ดีต่อร่างกาย โอลิโกไลท์ ใช้เติมลงในผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่ม ที่มุ่งเน้นประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านการเป็นพรีไบโอติกส์หรืออาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ [2] อีกทั้งยังให้รสชาติที่หวานอร่อย

เอกสารอ้างอิง

1. Campbell, J. M.; et al. (1997). “Selected Fructooligosaccharide (1-Kestose, Nystose, and 1-β-       Fructofuranosylnystose) Composition of Foods and Feeds”. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 45(8): 3076–3082.

2. Chaito, C. (2017). Fructooligosaccharides in food and commercial food products in Thailand. Asia-Pacific Journal of Science and Technology, 19, 430-440.

พรีไบโอติกส์ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

โอลิโกไลท์ มีส่วนผสมของฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่ประกอบด้วยโมเลกุลฟรุกโตสเชื่อมต่อกันเป็นสายสั้น ๆ มีคุณสมบัติเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ และเป็นพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ของมนุษย์ (Probiotics)  จากการศึกษาพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้จะย่อยสลายฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์สายสั้นได้ง่ายกว่าอินนูลินที่เป็นสายยาว [1] ทำให้โอลิโกไลท์ ถูกย่อยสลายได้เป็นกรดไขมันอิสระสายสั้น (Short chain fatty acid ; SCFA) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้โดยการกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของจุลินทรีย์ที่ดี ลดจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรค (Pathogen) และช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยเพิ่มการผลิตสารต้านการอักเสบ และเพิ่มการหลั่งสารภูมิคุ้มกัน [2]

เอกสารอ้างอิง

  1.  Holscher HD. Dietary fiber and prebiotics and the gastrointestinal microbiota. Gut Microbes. 2017 Mar 4;8(2):172-184.
  2. Shokryazdan P, Faseleh Jahromi M, Navidshad B, Liang JB. Effects of prebiotics on immune system and cytokine expression. Med Microbiol Immunol. 2017; 206(1): 1-9.

ใยอาหารสูงช่วยปรับสมดุลระบบขับถ่าย

    ด้วยคุณสมบัติของโอลิโกไลท์ ที่มีส่วนประกอบของฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่จัดเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble fiber) มีคุณสมบัติช่วยทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม เพิ่มกากใยในทางเดินอาหาร กระตุ้นการขับถ่าย จึงช่วยลดอาการท้องผูก และช่วยลดการติดเชื้อและการอักเสบที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย [1]  และด้วยคุณสมบัติการเป็นไซรัปใยอาหารสูง (1 ช้อนโต๊ะของโอลิโกไลท์ ให้ใยอาหารสูงถึง 30 % ของความต้องการต่อวัน [Thai RDI]) จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ [2]

    นอกจากนั้นฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ในโอลิโกไลท์จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ เกิดเป็นกรดแล็กติก (Lactic acid) และกรดไขมันชนิดสายสั้น (short chain fatty acids ; SCFAs) เป็นผลให้บริเวณลำไส้ใหญ่มีสภาพความเป็นกรดมากขึ้น (pH ต่ำ) จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแร่ธาตุกลับเข้าสู่ร่างกาย เช่น แร่ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น [3]

เอกสารอ้างอิง

  1. Roberfroid M. Dietary fiber, inulin, and oligofructose : a review comparing their physiological effects. Crit Rev Food Sci Nutr. 1993;33(2): 103-48.
  2. Kunzmann AT, Coleman HG, Huang WY, Kitahara CM, Cantwell MM, Berndt SI. Dietary fiber intake and risk of colorectal cancer and incident and recurrent adenoma in the Prostate, Lung, Colorectal, and Ovarian Cancer Screening Trial. Am J Clin Nutr. 2015 Oct;102(4):881-90.
  3.  Ellen GHM van den Heuvel, Theo Muys, Wim van Dokkum, Gertjan Schaafsma, Oligofructose stimulates calcium absorption in adolescents, The American Journal of Clinical Nutrition, Volume 69, Issue 3, March 1999, Pages 544–548