Sugar tax law

ในปัจจุบัน ประเด็นเรื่องการขึ้นภาษีน้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเป็นที่ตื่นตัวในวงกว้างทั้งในมุมของผู้ผลิตอาหาร , เจ้าของผลิตภัณฑ์ และ ผู้บริโภค ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าการขึ้นภาษีน้ำตาลนั้นถูกตีความจากหลายมุมมอง ทั้งประโยชน์และผลกระทบที่ส่งผลถึงผู้บริโภค การปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมของผู้ผลิตคือ การหาสารให้ความหวานทดแทนอื่น ๆ ทดแทนน้ำตาลทราย หรืออาจหมายถึงการรับมือกับราคาสินค้าที่สูงขึ้นของตัวผู้บริโภค

การปรับขึ้นภาษีน้ำตาลมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 2562 โดยกรมสรรพสามิตถือว่าเป็นหนึ่งในมาตรการที่จะช่วยปรับพฤติกรรมการบริโภคของคนไทย จากการสำรวจระบุว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลสูงถึง 20 ช้อนชา / วัน ซึ่งสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 6 ช้อนชา เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการบริโภคน้ำตาลเกินขนาด สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปท.) มีมติเห็นชอบเสนอจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล อาทิ น้ำอัดลม ชาเขียว กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำผลไม้ โดยเริ่มทำการเก็บภาษีตามขั้นบันไดทุก ๆ 2 ปี มาตั้งแต่ ปี 2559 เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับตัว ส่งผลให้ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ผู้ประกอบการผลิตเครื่องดื่มสูตรน้ำตาลน้อยหรือน้ำตาล 0 เปอร์เซ็นต์ออกมามากขึ้นเพราะไม่ต้องจ่ายภาษีตัวนี้

ทั้งนี้อัตราการจัดเก็บภาษีช่วง 2 ปีแรก บังคับใช้วันที่ 16 ก.ย. 2560 ถึง 30 ก.ย. 2562 ในกลุ่มเครื่องดื่มน้ำผลไม้ และน้ำพืชผัก หากมีน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร หรือครึ่งลิตร ไม่เสียภาษี

ช่วงที่ 1 :อัตราการเก็บภาษีความหวาน
ปี 2560 – 2562

ปริมาณน้ำตาล (กรัม/100 มล.) เสียภาษี (บาท/ลิตร)
6-8 0.30
10 140.50
14 ขึ้นไป 1

ช่วงที่ 2 :อัตราการเก็บภาษีความหวาน
1 ตค. 2562 – 30 กย. 2564

ปริมาณน้ำตาล (กรัม/100 มล.) เสียภาษี (บาท/ลิตร)
10-14 1
14-18 3
18 ขึ้นไป 5

ช่วงที่ 3 :อัตราการเก็บภาษีความหวาน
ปี 2564 – 2566

ปริมาณน้ำตาล (กรัม/100 มล.) เสียภาษี (บาท/ลิตร)
8-10 1
10-14 3
14 ขึ้นไป 5

ช่วงที่ 4 : อัตราการเก็บภาษีความหวาน
ตั้งแต่ ปี 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป

ปริมาณน้ำตาล (กรัม/100 มล.) เสียภาษี (บาท/ลิตร)
6-8 1
8-10 3
10 ขึ้นไป 5

…น้ำตาลพาลาทีนจึงถือเป็นอีกหนึ่งคำตอบที่ช่วยอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ลดแรงกระทบในส่วนนี้ และช่วยให้ผู้บริโภคได้ลดการใช้น้ำตาลทรายอีกด้วย